2023 Phishing Attack : เปิดโปงกลยุทธ์ฟิชชิงปี 2023 รู้ทันภัยก่อนตกเป็นเหยื่อ

Phishing attacks

เนื้อหาในบทความ

อีเมลหลอกลวง ลิงก์แปลกปลอม ไฟล์แนบที่น่าสงสัย หากคุณกำลังได้รับสิ่งเหล่านี้ พึ่งระวังไว้ได้ว่า คุณอาจจะกำลังตกเป็นเหยื่อของการโจมตีทางไซเบอร์แบบหนึ่งที่เรียกว่า “ฟิชชิง (Phishing Attack)” หนึ่งในภัยภัยคุกคามไซเบอร์ที่สร้างความเสียหายมหาศาลแก่องค์กรและธุรกิจ

ตามรายงาน ปี 2022 ของศูนย์รับเรื่องร้องเรียนอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต (Internet Crime Complaint Centre : IC3) ของ FBI ได้รับเรื่องร้องเรียนจากบุคคลและธุรกิจต่าง ๆ  เกี่ยวกับการโจมตีทางไซเบอร์ในจำนวนที่มากเป็นประวัติการณ์ โดยมีจำนวนสูงถึง 2,175 ข้อร้องเรียนต่อวัน ซึ่งมีทั้งรายการการถูกหลอกลวงทางอีเมล การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ (Ransomware) และการฟิชชิงในรูปแบบต่าง ๆ อีกหลายรูปแบบ นับว่าเป็นรูปแบบการหลอกลวงที่สร้างความเสียหายให้กับองค์กรและธุรกิจได้มากกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

Phishing คืออะไร ?

Phishing attacks

Phishing หรือ Phishing Attack  เป็นรูปแบบการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีมานานและมีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการโจมตีที่ใช้ประโยชน์จากจิตวิทยามนุษย์และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อหลอกลวงให้บุคคลเปิดเผยข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น รหัสผ่านในการเข้าสู่บัญชีต่าง ๆ รายละเอียดบัตรเครดิต เลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือ เปิดไฟล์ที่มีมัลแวร์ฝังอยู่ เป็นต้น

ลักษณะการโจมตีแบบฟิชชิงจะทำงานโดยแอบอ้างแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ เช่น ธนาคาร บริษัท หรือเว็บไซต์ ซึ่งผู้โจมตีมักจะใช้อีเมลปลอม ข้อความ รวมถึงสร้างเว็บไซต์ปลอมที่เลียนแบบองค์กรที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อทำให้บุคคลไม่สงสัยและแยกแยะความแตกต่างได้ยาก โดยเนื้อหาข้อความมักจะเป็นการสร้างความรู้สึกเร่งด่วน ความกลัว ความอยากรู้อยากเห็นเพื่อหลอกล่อเหยื่อให้ดำเนินการทันทีโดยไม่ตั้งคำถามถึงความผิดปกติของการสื่อสาร ความพยายามในการฟิชชิงเหล่านี้หากสำเร็จจะสามารถนำไปสู่การโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล การฉ้อโกงทางการเงิน การเข้าถึงบัญชีโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือการติดตั้งมัลแวร์ เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “Phishing กับ 9 รูปแบบการหลอกลวง” ได้ที่นี่

ภาพรวมและรูปแบบ Phishing Attack ในปีที่ผ่านมา

ในขณะที่มาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว กลยุทธ์การโจมตีแบบฟิชชิงก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีของบุคคลเฉกเช่นเดียวกัน

ในปีที่ผ่านมารูปแบบการโจมตีทางไซเบอร์รวมถึงภัยคุกคามมีการพัฒนาและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในหลากหลายรูปแบบที่ได้สร้างความท้าทายแก่ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นอย่างมาก

ตามรายงาน Phishing by Industry Benchmark 2023 ของ KnowBe4 พบว่าจากผลการสำรวจ Phish-Prone Percentage (PPP)  หรือ เปอร์เซ็นต์แนวโน้มที่พนักงานจะคลิกลิงก์ฟิชชิงของในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมโดยแบ่งตามขนาดขององค์กรพบว่า

ในองค์กรขนาดเล็กกลุ่มอุตสาหกรรมสุขภาพและเภสัชกรรมมีความเสี่ยงในการถูกโจมตีทางไซเบอร์มากที่สุดคิดเป็น 32.3 % ตามมาด้วยกลุ่มค้าปลีก 31.6 % และกลุ่มด้านการศึกษา 31.2 %

สำหรับองค์กรขนาดกลาง กลุ่มอุตสาหกรรมสุขภาพและเภสัชกรรมก็ยังคงมีความเสี่ยงในการถูกโจมตีทางไซเบอร์มากที่สุด  คิดเป็น 35.8 % ตามมาด้วยกลุ่มไฟฟ้าและพลังงาน 33.6 % และกลุ่มการก่อสร้าง 31.3 % ตามลำดับ

ส่วนในองค์กรขนาดใหญ่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเกี่ยวกับประกันถึง 53.2 %  ตามมาด้วยกลุ่มไฟฟ้าและพลังงาน 51.5 %  และกลุ่มธุรกิจการให้คำปรึกษา 48.2 % หากอ้างอิงจากผลสำรวจนี้ทำให้ทราบว่ากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีทางไซเบอร์ได้สำเร็จมากที่สุด มักจะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้และจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ในปริมาณมาก

ดังนั้นการสร้างความตระหนักรู้ทางด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จึงมีความสำคัญต่อบุคคลและองค์กรในการลดความเสี่ยงจากการตกเป็นเหยื่อของการโจมตีแบบฟิชชิ่งได้อย่างมาก ลำดับต่อไปเราจะพามาดูกลยุทธ์หรือรูปแบบการโจมตีฟิชชิ่ง (Phishing Attack) ที่ผู้โจมตีทางไซเบอร์มักจะใช้ในปีที่ผ่านมา

เราอยู่ในยุคที่อุปกรณ์เทคโนโลยีแทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา ไปแล้วจึงไม่แปลกที่การโจมตีแบบ Phishing จะมีการพัฒนาในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น อีกทั้งการทำงานในปัจจุบันเป็นการทำงานแบบระยะไกล ไม่ว่าจะเป็นการ Work form Home หรือ Hybrid ก็ตาม ทำให้กระบวนการทำงาน เชื่อมต่อ การโต้ตอบสื่อสารของเราต้องปรับเปลี่ยนมาเป็นทางออนไลน์เป็นส่วนมาก รวมถึงการเข้ามาของ Artificial Intelligence (AI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์  ต่าง ๆ  ที่ไม่สามารถมองข้ามได้ ก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่กลายเป็นช่องโหว่สำหรับการนำมาใช้ประโยชน์ในการโจมตีของอาชาญากรไซเบอร์

จากรายงานของ PhishLabs พบว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2023 ปริมาณอีเมลที่จัดประเภทว่าเป็นอันตรายหรือไม่ทราบแหล่งที่มาชัดเจนมีมากถึง 98.7% จากอีเมลทั้งหมด

รูปแบบการโจมตีฟิชชิ่งที่มีศักยภาพและประสิทธิภาพสูงสุดในช่วงที่ผ่านมา คือ Spear Phishing ซึ่งเป็นรูปแบบการโจมตีแบบกำหนดเป้าหมายโดยมุ่งเน้นไปที่บุคคลหรือองค์กรอย่างเฉพาะเจาะจง  มีการคัดเลือกเหยื่อและวางแผนอย่างพิถีพิถัน โดยการรวบรวมข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในเนื้อหาอีเมลที่ส่งไปยังผู้รับ มักจะมีการอ้างถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อนร่วมงาน ข้อมูลการทำงานของคุณ เป็นต้น

จากรายงานของ Proofpoint ในปี 2022 พนักงานกว่า 74% ขององค์กรถูกส่งข้อความหลอกลวง

รูปแบบการโจมตีที่การถูกนำมาใช้หลอกลวงอย่างแพร่หลาย ถัดมาคือ Smishing Phishing หรือที่รู้จักกันในชื่อ SMS Phishing โดยผู้โจมตีมักใช้ข้อความเพื่อหลอกลวงผู้รับให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลหรือดำเนินการที่เป็นอันตราย เช่น ข้อความที่บอกว่าคุณได้รับรางวัลหรือเงินรางวัล และต้องการให้คุณโอนเงินเข้าบัญชีที่กำหนดมา หากมีการตอบกลับข้อความหรือโทรกลับอาจทำให้เจ้าของหมายเลขโทรศัพท์ตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีแบบอื่น ๆ ได้

อ้างอิงข้อมูลจาก PhishLabs อุตสาหกรรมที่ตกเป็นเป้าหมายของการคุกคามทางโซเชียลมีเดียมากที่สุดคือ กลุ่มธนาคาร ซึ่งคิดเป็น 33.5% ตามมาด้วยกลุ่มค้าปลีก 24.4% กลุ่มสกุลเงินดิจิทัล 14.7% และกลุ่มการบริการทางการเงิน 9.3%

อีกหนึ่งกลยุทธ์การโจมตีทางไซเบอร์ที่เป็นที่นิยมคือ Social Media Phishing หรือ Social Media Attack  เนื่องจากสื่อสังคมออนไลน์ถือเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้อประโยชน์ต่อการโจมตีของอาชญากรไซเบอร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ที่สามารถสร้างหรือเผยแพร่เนื้อหาได้ง่ายและยากต่อการตรวจสอบ  โดยผู้โจมตีมักจะสร้างโปรไฟล์หรือเพจปลอมขึ้นมาเพื่อเลียนแบบแบรนด์ที่มีชื่อเสียง คนดัง หรือคนใกล้ชิดของเหยื่อ เพื่อหลอกลวงให้เหยื่อบอกข้อมูลส่วนบุคคล คลิกลิงก์หรือดาวน์โหลดเนื้อหาที่ติดมัลแวร์ อันตรายต่าง ๆ

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี กับ แนวโน้มรูปแบบ Phishing ในอนาคต

รูปแบบกลยุทธ์ที่เกิดขึ้นใหม่ของอาชญากรไซเบอร์ส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนาเพื่อให้ทันตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ในปีนี้และปีถัด ๆ ไปการโจมตีทางไซเบอร์จะถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ารวมถึงมีการนำเทคโนโลยี AI  มาใช้งานมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่น การโจมตีแบบ Deepfake จะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น การโจมตีแบบ Deepfake คือการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการลอกเลียนเสียง หรือใบหน้าของบุคคลในรูปแบบสื่อวีดีโอต่าง ๆ ซึ่งกรณีนี้ผู้โจมตีอาจแอบอ้างใช้ใบหน้าของบุคคลหรือเจ้าหน้าที่ที่น่าเชื่อถือเพื่อหลอกลวงข้อมูลจากเหยื่อ นอกจากนี้ผู้โจมตีอาจใช้ AI ในการสร้างข้อความสำหรับการส่งอีเมลฟิชชิงให้น่าดึงดูด ให้เฉพาะเจาะจงกับเหยื่อมากยิ่งขึ้น

อีกทั้งการเติบโตก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เกิดช่องโหว่ในอุปกรณ์เทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ให้อาชญากรทางไซเบอร์ ใช้ช่องโหว่เหล่านี้ในการรวบรวม เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของเราได้ง่ายยิ่งขึ้น

ลำดับถัดไปเพื่อป้องกันการถูกโจมตีฟิชชิง และลดความเสี่ยงจากการตกเป็นเหยื่อของการโจมตีแบบฟิชชิง เราจะพาท่านไปดูกลยุทธ์และแผนการรับมือการถูกโจมตีแบบฟิชชิงสำหรับบุคคลและองค์กร

กลยุทธ์และแผนการรับมือ Phishing Attack สำหรับบุคคลและองค์กร

🏠 สำหรับบุคคล

  • ตรวจสอบแหล่งที่มาของอีเมลทุกครั้งว่าอีเมลผู้ส่งสะกดถูกต้องหรือไม่ และ ไม่คลิกลิงก์หรือไฟล์แนบที่น่าสงสัย
  • หลีกเลี่ยงการแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลที่ละเอียดอ่อน เช่น หมายเลขบัญชี บัตรเครดิต หมายเลขบัตรประชาชน
  • ตรวจสอบชื่อเว็บไซต์ว่าสะกดถูกต้อง และมี HTTPS ทุกครั้งที่ทำธุรกรรมที่ต้องกรอกข้อมูลความลับ เช่น ชื่อบัญชี รหัสผ่าน และ ข้อมูลส่วนบุคคล
  • ระมัดระวังอีเมลหรือข้อความเชิงเร่งด่วน เช่น บัญชีถูกระงับ หรือ เงินถูกโอน
  • ตรวจสอบคำรองข้อทุกครั้งก่อนดำเนินการต่อ
  • หมั่นอัปเดตระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่เสมอ
  • จำกัดการเข้าถึงความเป็นส่วนตัวบนโซเชียลมีเดีย และระมัดระวังการแชร์ข้อมูลส่วนตัวในรูปแบบสาธารณะ
  • ใช้รหัสผ่านที่ซับซ้อน คาดเดาได้ยาก สำหรับบัญชีออนไลน์และหลีกเลี่ยงการใช้รหัสผ่านเดียวกันในหลายแพลตฟอร์ม

🏢 สำหรับองค์กร

  • จัดการฝึกอบรมให้ความรู้แก่พนักงาน
    • จัดการฝึกอบรมให้ความรู้แก่พนักงานเป็นประจำเกี่ยวกับรูปแบบต่าง ๆ ของการโจมตีแบบฟิชชิง เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ทางด้านการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Security Awareness)
  • มีการรับรองความถูกต้องของอีเมล
    • นำระบบตรวจสอบสิทธิ์อีเมลขาเข้ามาใช้งาน เพื่อลดความเสี่ยงของการถูกปลอมแปลงโดเมนและการโจมตีแบบฟิชชิงที่ปลอมแปลงชื่อองค์กรของคุณ
  • บังคับใช้ Multi-Factor Authentication (MFA) ในการเข้าถึงระบบเพิ่มความปลอดภัยอีกขั้นหนึ่ง
  • ใช้ Software รักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
    • มีความสามารถในการป้องกันการฟิชชิง รวมถึงสามารถระบุ ปิดกั้นลิงก์และไฟล์แนบที่เป็นอันตรายได้
  • ร่วมแบ่งปันข่าวสารการกับหน่วยงานรัฐหรือองค์กรด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์
  • ซักซ้อมการรับมือกับภัยคุกคามฟิชชิ่ง (Phishing Simiulation) เพื่อพัฒนาปรับปรุงกลยุทธ์ และแผนรับมือกับเหตุการณ์การถูกโจมตีทางไซเบอร์ให้ชัดเจนอยู่เสมอ
  • ดำเนินการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยขององค์กรเป็นประจำ

การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลเพียงครั้งเดียว แต่ต้องเป็นเรื่องที่ต้องเริ่มต้นและดำเนินอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ไม่อาจละเลยได้เลยในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ คือ การเพิ่มระดับความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในกับบุคลากรในองค์กร เพราะเพียงแค่เทคโนโลยีอย่างเดียวไม่สามารถป้องกันภัยคุกคามได้ทั้งหมด แต่บุคคลที่ใช้เทคโนโลยีภายในองค์กรต่างหากที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามได้

ดังนั้นแล้ว SECAP จึงเข้าใจถึงความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์และมุ่งมั่นในการสร้างความตระหนักรู้ด้านนี้มาเป็นเวลากว่า 10 ปี ด้วยประสบการณ์การดำเนินโครงการการรับรู้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้กับองค์กรชั้นนำในประเทศไทยมากกว่า 50 แห่ง และมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่สร้างเนื้อหาที่ทำให้พนักงานทั่วไปสามารถเข้าใจได้โดยง่าย ผ่านการออกแบบที่สวยงาม

เพราะเราเชื่อว่าจะสามารถสร้างโลกดิจิทัลที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นสำหรับองค์กรของคุณได้ ให้ SECAP เข้าไปช่วยคุณเพิ่มความมั่นใจในการป้องกันองค์กรของคุณจากความเสี่ยงของภัยคุกคามทางไซเบอร์ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเราได้ที่ Facebook Fanpage: SECAP

หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งาน หรือสนใจใช้บริการของ SECAP

โทร 092-252-8632

รับชมบริการของเราได้ที่ secap.co

บทความที่เกี่ยวข้อง

Phishing attacks

2023 Phishing Attack : เปิดโปงกลยุทธ์ฟิชชิงปี 2023 รู้ทันภัยก่อนตกเป็นเหยื่อ

อีเมลหลอกลวง ลิงก์แปลกปลอม ไฟล์แนบที่น่าสงสัย หากคุณกำลังได้รับสิ่งเหล่านี้ พึ่งระวังไว้ได้ว่า คุณอาจจะกำลังตกเป็นเหยื่อของการโจมตีทางไซเบอร์แบบหนึ่งที่เรียกว่า “ฟิชชิง (Phishing Attack)” หนึ่งในภัยภัยคุกคามไซเบอร์ที่สร้างความเสียหายมหาศาลแก่องค์กรและธุรกิจ ตามรายงาน ปี 2022 ของศูนย์รับเรื่องร้องเรียนอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต (Internet Crime Complaint Centre : IC3) ของ FBI ได้รับเรื่องร้องเรียนจากบุคคลและธุรกิจต่าง ๆ  เกี่ยวกับการโจมตีทางไซเบอร์ในจำนวนที่มากเป็นประวัติการณ์ โดยมีจำนวนสูงถึง

อ่านต่อ »

10 สิ่งที่ทำให้ Cybersecurity Awareness ในองค์กรไม่มีประสิทธิภาพ​

ทำไม Cybersecurity Awareness จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กร การตระหนักรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ Cybersecurity Awareness ในองค์กรมีความสำคัญเนื่องจากช่วยปกป้องบุคคลและองค์กรจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น มัลแวร์ การโจมตีแบบฟิชชิง และข้อมูลรั่วไหล ซึ่งภัยคุกคามเหล่านี้อาจส่งผลร้ายแรง รวมถึงการสูญเสียทางการเงิน ความเสียหายต่อชื่อเสียง และการสูญเสียข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลธุรกิจที่ละเอียดอ่อน องค์กรสามารถลดความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อของภัยคุกคามเหล่านี้ได้ด้วยการตระหนักรู้และปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ดี ซึ่งหากองค์กรมีการวางแผนการตระหนักถึงความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพต้องระมัดระวังไม่ทำ 10 สิ่งดังต่อไปนี้ 10 สิ่งที่ทำให้ Cybersecurity Awareness

อ่านต่อ »

PDPA Awareness for employees Webinar

WEBINAR PDPA Awareness for employees สร้างความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยข้อมูล และ PDPA ให้กับพนักงานในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ on demand WATCH NOW Brought to you by : รู้หรือไม่ครับว่า พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ปี 2562 กำหนดให้องค์กรต้องมี การสร้างความตระหนักรู้ให้กำคนในองค์กรด้วย การปฏิบัติตาม

อ่านต่อ »

PDPA awareness Training ทำเอง หรือจ้างดีกว่า ?

เมื่อคุณเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการทำ PDPA Awareness ในระดับหนึ่งแล้ว ตอนนี้คุณอาจกำลังวางแผน จัดทำ PDPA awareness training ให้กับพนักงานในองค์กรของคุณ แต่อย่างที่เราบอกไปในบทความ “สร้าง PDPA Awareness ในองค์กรอย่างไรให้ปัง” ว่าการทำ PDPA Awareness ให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพสูงสุด ต้องใช้เวลาและการย้ำเตือนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้พนักงานตระหนักถึง ความเสี่ยงต่อข้อมูลส่วนบุคคล และเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเก็บ ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้

อ่านต่อ »

ทำ PDPA Awareness ในองค์กรอย่างไรให้ปัง

เมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเริ่มบังคับใช้และกำหนดให้องค์กรที่มีกิจกรรมเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของคนไทย ต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Security) ซึ่งก็คือการ ทำ PDPA Awareness สำหรับพนักงานในองค์กร การสร้างความตระหนักรู้ด้านกฎหมาย PDPA เป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรจำเป็นต้องทำ และมุ่งเน้นสื่อสารให้พนักงานทราบถึง บทบาทหน้าที่ด้านความปลอดภัยที่องค์กรต้องปฏิบัติตามกฎหมาย รวมไปถึงความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจ เกิดขึ้นกับข้อมูลส่วนบุคคลที่องค์กรเก็บรวบรวมไว้ อ่านข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความตระหนักรู้ทางด้านข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กรเพิ่มเติมที่ ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๓  

อ่านต่อ »

PDPA Awareness for employees คืออะไร?

แนวคิด PDPA  for employees คือการสร้างความตระหนักรู้ด้านกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA Awareness) และ ความตระหนักรู้ด้านภัยไซเบอร์ (Cyber Security Awareness) ให้พนักงานในองค์กรของเรา ปัจจุบันหลากหลายองค์กรมีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดิจิทัลไฟล์อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือในระบบคลาวน์ออนไลน์ทั้งข้อมูลที่ได้รับมาจากพนักงานภายใน หรือภายนอกจากลูกค้า หรือคู่ค้าธุรกิจ ดังนั้นต้องมีการรักษาความปลอดภัยในทุกกระบวนการจัดเก็บ และใช้ข้อมูลส่วนบุคคล การสร้าง Security Awareness และ PDPA Awareness

อ่านต่อ »