Business Email Compromise (BEC) การก่ออาชญากรรมทางอีเมลที่พุ่งเป้าพนักงานในองค์กรเป็นหลัก

BUSINESS EMAIL cover 1-01

เนื้อหาในบทความ

อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่า Phishing Email เป็นภัยทำให้พนักงานตกเป็นเหยื่อจนองค์กรเสียหายหนัก ถ้าคุณยังไม่รู้จัก หรือถูก Business Email Compromise (BEC) เพ่งเล็งโจมตี

บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ BEC กลวิธีหลอกหลวงทางอีเมลที่แยบยล ทำให้องค์กรคุณเสียหายหนัก กว่าการ Phishing ทั่วไป เพราะพนักงานในองค์กรของคุณอาจไม่รู้ว่าผู้ส่งอีเมลนั้นคือ ” ผู้บริหาร หรือลูกค้า รายใหญ่ขององค์กรตัวจริงหรือไม่ ” และตกเป็นเหยื่อในที่สุดได้

Business Email Compromise (BEC) คืออะไร

การหลอกลวงทางอีเมลที่ผสมผสานวิธีการแบบ Social Engineering และเทคนิคการ Phishing เข้าด้วยกัน โดยใช้วิธีการแฮก หรือปลอมแปลงที่อยู่อีเมลของตนเองเป็นผู้บริหารระดับสูง หัวหน้างาน บุคลากรในที่ทำงาน รวมไปถึงลูกค้าคู่สัญญาทางธุรกิจ ทำให้เหยื่อเป้าหมายตายใจ หลงเชื่อจนโอนเงิน เปิดเผยข้อมูลความลับทางธุรกิจออกมา

BEC หลอกทางอีเมลเหมือนกัน แล้วแตกต่างจาก Phishing Email อย่างไร

” Phishing Email เป็นการหลอกให้ผู้ใช้งานอีเมลคลิกลิงก์ ให้ข้อมูลสำคัญ หรือเปิดไฟล์แนบฝังมัลแวร์ “

 อาชญากรไซเบอร์จะแอบอ้างตนเป็นหน่วยงาน องค์กร หรือแบรนด์สินค้าที่มีชื่อเสียง ทำการส่งอีเมลที่มีหัวข้อแจ้งเรื่องราวดี ๆ เช่น คุณเป็นผู้โชคดีจากกิจกรรมพิเศษ รับเงินสด 1 ล้านบาท  หรือเป็นหัวข้อปัญหาการใช้งานต่าง ๆ  เช่น มีคนพยายามเข้าสู่ระบบของคุณ ควรเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ทันที สร้างความตื่นเต้น ตื่นกลัว กังวลใจ ทำให้ผู้ใช้งานรีบดำเนินการตามคำร้องขออีเมลโดยขาดสติพิจารณาชั่วขณะ ซึ่งกว่าจะรู้ตัวก็เผลอให้ข้อมูลสำคัญ หรือตกเป็นเหยื่อไปแล้ว


“BEC เป็นการหลอกลวงที่เจาะจงเป้าหมายชัดเจน และมีการศึกษาข้อมูลเชิงลึกก่อนลงมือโจมตี เพื่อให้เหยื่อเชื่อสนิทใจจนยอมโอนเงิน หรือเปิดเผยข้อมูลความลับ”

อาชญากรไซเบอร์ใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าจะโจมตีแต่ละครั้ง พวกเขาจะศึกษาข้อมูลเชิงลึกให้มั่นใจก่อนว่า ข้อมูลที่มีอยู่ครบ และสามารถหลอกลวงได้อย่างแนบเนียนที่สุด โดยพวกเขาจะศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างภายในองค์กร ลักษณะกระบวนการการทำงานทางอีเมล รวมไปถึงภาษาการพูดคุย ระดับความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายกับบุคคลอื่นภายในองค์กร แต่บางครั้งพวกเขาก็ใช้วิธีการโทรศัพท์เข้าไปเพื่อหลอกถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ต้องการ

ยกตัวอย่างเช่น

เป้าหมายการโจมตีคือ คุณโรส เลขาผู้บริหารระดับสูง (นามสมมติ)

สิ่งที่อาชญากรไซเบอร์ศึกษามาได้คือ เขารู้ว่าผู้บริหารมักเรียกคุณโรสด้วยสรรพนามหยอกล้อว่า ‘สาวกุหลาบแดง’ เสมอ

เมื่ออาชญากรไซเบอร์สามารถแฮกอีเมลผู้บริหารระดับสูงได้สำเร็จ เขาจึงสวมรอบส่งอีเมลโดยเรียกคุณโรส ว่า สาวกุหลาบแดงและสั่งให้ทำการเปลี่ยนแปลงเลขบัญชีธนาคารของลูกค้าคนสำคัญ และให้ทำการโอนเงินจำนวนหนึ่งไปให้ แต่ทว่า เลขบัญชีนั้นกลับเป็นเลขบัญชีของอาชญากรซะเอ

คุณโรสเมื่อได้รับอีเมล และไม่พบเห็นความผิดปกติ จึงหลงเชื่อและดำเนินการโดยไม่รู้ตัวว่ากำลังตกเป็นเหยื่อ BEC อยู่

มุขเด็ด BEC ชอบใช้หลอกลวงให้เราตายใจ เป็นแบบไหนกัน

ใบแจ้งหนี้ แจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลปลอม!

อาชญากรไซเบอร์จะปลอมแปลงอีเมลเป็นองค์กรคู่ค้าจากต่างประเทศ สร้างใบแจ้งหนี้ปลอมเพื่อบอกให้เหยื่อทราบว่าองค์กรคู่ค้ามีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ หรือเลขบัญชีในการซื้อขาย ซึ่งจริง ๆ แล้วเลขที่บัญชีนั้นเป็นบัญชีของอาชญากรเอง

สวมบทเป็น CEO หรือผู้บริหารระดับสูงขององค์กร

อาชญากรไซเบอร์อาจสามารถแฮกอีเมลของผู้บริหารมาได้ หรือใช้วิธีการปลอมแปลงอีเมลให้คล้ายอีเมลจริง แล้วส่งอีเมลในนามของผู้บริหารสั่งให้พนักงานดำเนินการโอนเงินเร่งด่วนกรณีฉุกเฉิน ซึ่งพนักงานเมื่อรับคำสั่งก็คงไม่มีใครกล้าขัดคำสั่ง หรือจับจุดผิดสังเกตให้ตัวเองโดนตำหนิใช่ไหมล่ะคะ

แฮกอีเมลพนักงานสักคนไปหลอกพาร์ทเนอร์ทั้งหมดขององค์กรแทน

การหลอกลวงของอาชญากรไซเบอร์บางครั้งก็เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอีเมลและรหัสผ่านเข้าสู่ระบบเพื่อนำไปแฮกใช้งาน ส่งอีเมลแจ้ง Vendor หรือพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจว่าองค์กรของเรามีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ หรือเลขที่บัญชีธนาคารในการโอนจ่ายเงินกัน ทำให้ Vendor หรือพาร์ทเนอร์เข้าใจผิดและโอนเงินไปยังบัญชีของอาชญากรจริง

ไม่อยากพลาดเป็นเหยื่อ BEC ทำอย่างไร

สาเหตุการตกเป็นเหยื่อของ BEC มีเหตุผลที่คล้ายคลึงกับการตกเป็นเหยื่อ Phishing ทั่ว ๆ ไป นั่นคือ ผู้ใช้งานอีเมล หรือพนักงานในองค์กรของคุณไม่รู้ว่าอีเมลนั้นมีความผิดปกติอย่างไร จึงหลงเชื่อ และปฏิบัติตามอย่างไม่มีข้อกังขาใด ๆ ดังนั้น วันนี้เรารวบรวมวิธีการสังเกต และป้องกันตนเอง เบื้องต้นมาแนะนำคุณ ดังนี้

อ่านพิจารณาข้อความในอีเมลอย่างละเอียด และมีสติทุกครั้ง

การอ่านรายละเอียดทุกอย่างแบบมีสติจะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่าอีเมลที่ได้รับอยู่นี้ มีความผิดปกติในส่วนไหนบ้าง หรือคำร้องขอที่เกิดขึ้นในอีเมลฉบับนี้มีความเป็นไปได้สูงแค่ไหน

เช่น หากได้รับอีเมลจากหัวหน้าแผนก แจ้งว่าพนักงานคนหนึ่งในองค์กรประสบอุบัติเหตุ ขอระดมทุนช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลโดยโอนเข้าบัญชีของหัวหน้าคนดังกล่าว สิ่งนี้ถือว่าผิดปกติ หากเป็นการแจ้งขอระดมทุนในนามองค์กร อีเมลก็ควรมาจากฝ่าย HR ที่ดูแลเกี่ยวกับสวัสดิการพนักงาน ไม่ใช่หัวหน้างานแผนกอื่นเช่นนี้

ตรวจสอบที่อยู่อีเมลผู้ส่งก่อนดำเนินการใดทุกครั้ง

ไม่ว่าจะเป็น Phishing Email หรือ BEC การสร้างที่อยู่อีเมลให้คล้ายจริงก็ยังคงเป็นวิธีการหลอกลวงที่ได้ผลอยู่เสมอ อาชญากรไซเบอร์มักสลับ หรือเปลี่ยนตัวสะกดที่ยากจะมองเห็น เพราะพวกเขาหวังว่าคุณจะมองข้ามมันไปได้ เช่น เครื่องหมาย อันเดอร์สกอร์ ( _ ) เป็นเครื่องหมายขีด (-), ตัวโอ (O) เป็นเลขศูนย์ (0), ตัวเอ็ม (M) เป็นตัวอาร์พิมพ์เล็ก (r) ผสมกับตัวเอ็นพิมพ์เล็ก (n) ก็จะเป็นแบบนี้ rn นั่นเอง

โทรสอบถามความถูกต้องอีกครั้ง เมื่อมีการแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลสำคัญ

เช่น แจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่จัดส่งสินค้า เปลี่ยนแปลงเลขบัญชีการโอนเงิน – จ่ายเงินต่าง ๆ เพราะการเปลี่ยนแปลงข้อมูลสำคัญพวกนี้ หากมีการจัดส่งตามที่อยู่ใหม่ หรือโอนจ่ายเงินตามเลขบัญชีใหม่โดยไม่มีการตรวจสอบ ก็เท่ากับว่าองค์กรของคุณอาจเสียสินค้า หรือเงินฟรี ๆ โดยไม่ได้ถึงมือลูกค้าตามกำหนด ทำให้อาจมีปัญหาระหว่างธุรกิจอีกหนึ่งกระทงด้วย
ซึ่งจริง ๆ แล้วกระบวนการเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านี้ควรมีเอกสารยืนยันความถูกต้อง เช่น เอกสารรับรองที่ออกโดยองค์กรนั้น และมีตราประทับรับรองชัดเจนมาด้วยเสมอ

บทความที่เกี่ยวข้อง

การต่อสู้กับ Ransomware

Fighting with Ransomware : ความรู้และกลยุทธ์ที่คุณต้องมี

“จ่ายเงินมาตอนนี้ ไม่อย่างงั้นข้อมูลของคุณจะถูกเผยแพร่ลงสาธารณะ” “จ่ายเงินมา ก่อนข้อมูลของคุณจะถูกลบ” “จ่ายเงินเพื่อปลดล็อกรหัสไฟล์” หากคุณเจอคำขู่ทำนองนี้ บอกได้เลยว่าคุณกำลังถูกภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เรียกว่า “แรนซัมแวร์ (Ransomware)” โจมตีเข้าแล้ว แรนซัมแวร์ เป็นซอฟต์แวร์อันตรายประเภทหนึ่งที่ถูกออกแบบมา เพื่อบล็อกการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ จนกว่าทางแฮคเกอร์จะได้รับเงินค่าไถ่ ปัจจุบันแรนซัมแวร์ถือเป็นภัยคุกคามที่อันตรายระดับต้น ๆ ทางโลกไซเบอร์ที่สามารถสร้างหายนะให้กับเครือข่ายทั่วโลก ทำลายโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ทำให้เกิดการหยุดชะงักของธุรกิจ และก่อให้เกิดความวุ่นวายทางการเงินแก่องค์กรและบุคคลมาแล้วนับไม่ถ้วน การเพิ่มขึ้นของเหตุการณ์แรนซัมแวร์มีเพิ่มมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากข้อมูลของบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มีรายงานการถูกโจมตีโดยแรนซัมแวร์เพิ่มขึ้นอย่างมาก และพบว่ามีหลายเหตุการณ์ที่ผู้โจมตีมีความกล้าที่จะโจมตีบริษัทใหญ่ ๆ และเรียกร้องค่าไถ่เพิ่มขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

อ่านต่อ »
Cybersecurity Awareness

Cybersecurity Awareness สำคัญอย่างไร? ทำไมทุกองค์กรควรต้องมีในยุคดิจิทัล

ในปัจจุบัน การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล หรือ Digital Transformation นั้น คือสิ่งจำเป็นที่ทุกองค์กรไม่ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมไหน “ต้อง” ทำ ไม่ใช่ “ควร” ทำอีกต่อไป ด้วยพฤติกรรมของคนในสังคมที่มีการพึ่งพาเทคโนโลยีอยู่เสมอจนกลายเป็นสิ่งที่ขาดไปไม่ได้ในชีวิตประจำวัน ทำให้องค์กรต่าง ๆ ต้องพัฒนาและปรับเปลี่ยนเพื่อให้เท่าทันต่อยุคดิจิทัลนี้ไปด้วย เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่มากขึ้น แน่นอนว่ามันก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีทางไซเบอร์โดยอาชญากรผู้ไม่หวังดีเช่นกัน แล้วเราจะทำอย่างไรเพื่อป้องกันภัยคุกคามเหล่านี้ในวันที่ทุกอย่างล้วนเข้าสู่ยุคดิจิทัลแทบทั้งหมด? พวกเรา SECAP ได้หาคำตอบของคำถามนี้ไว้ให้แล้วในบทความนี้ Attack Surface ช่องโหว่ทางไซเบอร์ที่องค์กรต้องระวัง

อ่านต่อ »
Colonial Pipeline Case study

ถอดบทเรียนจากการโจมตีทางไซเบอร์ระดับโลก: Colonial Pipeline Ransomware Attack Case Study

โลกปัจจุบันถูกขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลแทบทั้งหมด สังคมของเราถูกเชื่อมโยงไว้กับเทคโนโลยีอย่างที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ สิ่งเหล่านี้ทำให้ Cybersecurity หรือ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ถือเป็นรากฐานสำคัญของการดำเนินธุรกิจยุคสมัยใหม่ Colonial Pipeline บริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับระบบท่อขนส่งน้ำมัน สัญชาติอเมริกัน ถูกโจมตีจากแรมซัมแวร์ (Ransomware)  จนกลายเป็นข่าวดังไปทั่วโลก การโจมตีครั้งนี้ได้ตอกย้ำถึงความเป็นจริงว่า ไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรใด จะเล็กหรือใหญ่ อยู่ในภาคส่วนใดก็ตามที่จะรอดพ้นจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ การถูกโจมตีด้วยแรมซัมแวร์ที่ Colonial Pipeline ถือเป็นสิ่งเตือนใจให้องค์กรรู้ถึงผลลัพธ์ที่ตามมาจากช่องโหว่ทางไซเบอร์ และการโจมตีครั้งนี้ไม่เพียงแต่ทำให้การดำเนินงานของหนึ่งในผู้ให้บริการท่อขนส่งน้ำมันรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกาหยุดชะงัก แต่ยังส่งแรงกระเพื่อมไปยังตลาดพลังงานทั่วโลก ในบทความนี้ SECAP จะพาทุกคนไปเจาะลึกถึงเบื้องหลังเหตุการณ์

อ่านต่อ »
ภัยคุกคามทางไซเบอร์

Cybersecurity Threat Trends 2024: รู้ทันภัยก่อนสาย แนวโน้มภัยคุกคามทางไซเบอร์ปี 2024

ในปี 2023 ที่ผ่านมาเป็นปีที่โลกออนไลน์ แพลตฟอร์มดิจิทัลและเทคโนโลยีต่าง ๆ มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว การพัฒนาอย่างก้าวกระโดดนี้ นอกจากจะเป็นสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้มนุษย์แล้ว มันยังเปิดเส้นทางใหม่ให้การก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นเช่นกัน วันนี้พวกเรา SECAP จะมาแชร์ข้อมูลของ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่อาจเกิดขึ้นในปี 2024 เพื่อให้รู้ทันและสามารถเตรียมตัวรับมือกับเหตุการณ์จู่โจมทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงที การโจมตีที่ขับเคลื่อนโดย AI ในช่วงปีที่ผ่านมานับได้ว่าเป็นปีที่ Generative AI ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเป็นอย่างมาก ซึ่งสิ่งนี้เองก็กลายมาเป็นช่องทางที่ทำให้เหล่าผู้ไม่ประสงค์ดีนำมาใช้เพื่อเป็นเครื่องมือตัวช่วยในการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ Generative AI จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องมือที่ผู้โจมตีใช้

อ่านต่อ »
Phishing attacks

2023 Phishing Attack : เปิดโปงกลยุทธ์ฟิชชิงปี 2023 รู้ทันภัยก่อนตกเป็นเหยื่อ

อีเมลหลอกลวง ลิงก์แปลกปลอม ไฟล์แนบที่น่าสงสัย หากคุณกำลังได้รับสิ่งเหล่านี้ พึ่งระวังไว้ได้ว่า คุณอาจจะกำลังตกเป็นเหยื่อของการโจมตีทางไซเบอร์แบบหนึ่งที่เรียกว่า “ฟิชชิง (Phishing Attack)” หนึ่งในภัยภัยคุกคามไซเบอร์ที่สร้างความเสียหายมหาศาลแก่องค์กรและธุรกิจ ตามรายงาน ปี 2022 ของศูนย์รับเรื่องร้องเรียนอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต (Internet Crime Complaint Centre : IC3) ของ FBI ได้รับเรื่องร้องเรียนจากบุคคลและธุรกิจต่าง ๆ  เกี่ยวกับการโจมตีทางไซเบอร์ในจำนวนที่มากเป็นประวัติการณ์ โดยมีจำนวนสูงถึง

อ่านต่อ »

10 สิ่งที่ทำให้ Cybersecurity Awareness ในองค์กรไม่มีประสิทธิภาพ​

ทำไม Cybersecurity Awareness จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กร การตระหนักรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ Cybersecurity Awareness ในองค์กรมีความสำคัญเนื่องจากช่วยปกป้องบุคคลและองค์กรจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น มัลแวร์ การโจมตีแบบฟิชชิง และข้อมูลรั่วไหล ซึ่งภัยคุกคามเหล่านี้อาจส่งผลร้ายแรง รวมถึงการสูญเสียทางการเงิน ความเสียหายต่อชื่อเสียง และการสูญเสียข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลธุรกิจที่ละเอียดอ่อน องค์กรสามารถลดความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อของภัยคุกคามเหล่านี้ได้ด้วยการตระหนักรู้และปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ดี ซึ่งหากองค์กรมีการวางแผนการตระหนักถึงความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพต้องระมัดระวังไม่ทำ 10 สิ่งดังต่อไปนี้ 10 สิ่งที่ทำให้ Cybersecurity Awareness

อ่านต่อ »

Discover more from SECAP

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading